Kikkoman ไขอดีตความลับเจ้าตลาด ซีอิ๊วขาว
Kikkoman ไขอดีตความลับเจ้าตลาดซีอิ๊วขาว ซีอิ๊วขาว หรือซอสถั่วเหลือง (Soy Sauce) ในประเทศไทยมีหลากหลายยี่ห้อที่เป็นที่รู้จักและได้รับความนิยมไม่ว่าจะซีอิ๊วขาวตราเด็กสมบูรณ์ ซีอิ๊วขาวตราเสือ หรือซีอิ๊วขาวตราภูเขาทองซึ่งแต่ละแบรนด์มีจุดเด่นของรสชาติรวมถึงกลิ่นที่ต่างกันไปโดยแบรนด์ที่ขึ้นชื่อและถูกขนานนามว่ายักษ์ใหญ่แห่งวงการผลิตซอสถั่วเหลืองคงไม่พ้น ‘Kikkoman’ ด้วยมูลค่าบริษัทกว่า 11 พันล้านดอลลาร์ และสินค้าที่กระจายไปทั่วโลกโดยเฉพาะโซนอเมริกาเหนือแหล่งรายได้หลักนอกจากนั้นยังมีการแตกไลน์ธุรกิจไปผลิตภัณฑ์อื่นไม่ว่าจะนมถั่วเหลือง ไวน์ สาเก หรือผลิตภัณฑ์อาหารญี่ปุ่นอีกหลากหลายชนิด และได้เข้าตลาดหลักทรัพย์โตเกียว(TSE) ปี 1949 ด้วยสัญลักษณ์ ‘KIKOF’ ศึกษาธรรมมะ…สู่ต้นตำรับความอร่อย ซีอิ๊วขาวเริ่มต้นจากประเทศจีนในยุคราชวงศ์โจวได้สันนิษฐานว่าเกิดจากการหมักถั่วเหลืองเพื่อถนอมอาหารและเพิ่มรสชาติในกระบวนการผลิตจะหมักเข้ากับเกลือและแป้งสาลีให้เก็บไว้ได้นานขึ้น ต่อมาพระสงฆ์ญี่ปุ่นเดินทางศึกษาศาสนาพุทธในจีนแล้วนำเทคนิคการหมักถั่วเหลืองกลับมาด้วยจนเกิดการเผยแพร่และพัฒนาซีอิ๊วขาวในญี่ปุ่นที่เรียกว่า ‘โชยุ’ หรือซอสถั่วเหลืองเวอร์ชันญี่ปุ่น การเข้ามาของโชยุได้ถูกพัฒนาจากรุ่นสู่รุ่น จากในวัดอารามสู่การค้าเชิงพาณิชย์ มายังยุคเอโดะ(ค.ศ. 1603-1868)ที่เมืองนอดะ จังหวัดชิบะ หนึ่งในศูนย์กลางการผลิตซอสถั่วเหลืองด้วยมาตราฐานการผลิต คุณภาพวัตถุดิบ และอุณหภูมิความชื้นที่เหมาะสำหรับการหมักช่วยส่งเสริมให้รสชาติโดดเด่น จนกระทั่งปี 1917 แปดตระกูลผู้ผลิตซอสถั่วเหลืองเมืองนอดะรวมตัวกันก่อตั้งบริษัท Noda Shoyu ซึ่งเป็นช่วงเวลาเดียวกับอุตสาหกรรมญี่ปุ่นเกิดการเปลี่ยนแปลงและการแข่งขันที่สูงมากขึ้นในแต่ละเมือง ภายหลังได้เปลี่ยนชื่อเป็น Kikkoman มาจาก Kikko ที่แปลว่า กระดองเต่าถือเป็นสัญลักษณ์ของอายุยืนยาวในวัฒนธรรมญี่ปุ่นและ Man หมายถึง หนึ่งหมื่น เมื่อรวมคำกันกลายเป็นประโยคที่มีความหมายนัยยะว่า “อายุยืนหมื่นปี” เป็นการสื่อถึงความยั่งยืน ความมั่นคงของบริษัทและสัญลักษณ์แห่งความโชคดี รันวงการ […]